ข้อมูลพื้นฐานองค์การบริหารส่วนตำบลกองแขกอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
สภาพพื้นฐานทั่วไป
องค์การบริหารส่วนตำบลกองแขก ตั้งอยู่เลขที่ 137 หมู่ 7 ตำบลกองแขก อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ แยกการปกครองออกจากตำบลท่าผา ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเขตอำเภอแม่แจ่ม ระยะทางจากตำบลกองแขกถึงตัวอำเภอแม่แจ่มประมาณ 12 กิโลเมตร คำว่า “กองแขก” มาจากกลุ่มคนจากต่างถิ่น เช่น จากอำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง กลุ่มคนจากจังหวัดลำพูน และหมู่บ้านอื่นๆ ได้อพยพมาอยู่รวมกันจนเป็นหมู่บ้านกองแขก อบต.กองแขก แบ่งการปกครองออกเป็น 12 หมู่บ้าน ประกอบไปด้วย
หมู่ที่ 1 บ้านอมขูด |
หมู่ที่ 7 บ้านกองแขกเหนือ |
หมู่ที่ 2 บ้านแม่หลุ |
หมู่ที่ 8 บ้านอมเม็ง |
หมู่ที่ 3 บ้านหัวดอย |
หมู่ที่ 9 บ้านผาผึ้ง |
หมู่ที่ 4 บ้านโหล่งปง |
หมู่ที่ 10 บ้านแม่คงคา |
หมู่ที่ 5 บ้านอมลาน |
หมู่ที่ 11 บ้านกองแขกใต้ |
หมู่ที่ 6 บ้านโม่งหลวง |
หมู่ที่ 12 บ้านนายางดิน |
อาณาเขตติดต่อ
องค์การบริหารส่วนตำบลกองแขก มีเนื้อที่ทั้งหมด จำนวน 280.282 ตารางกิโลเมตรหรือ จำนวน 175,176.25 ไร่
ทิศเหนือ |
ติดต่อกับตำบลบ้านทับและตำบลท่าผา อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ |
ทิศตะวันออก |
ติดต่อตำบลบ้านหลวง ตำบลดอยแก้ว และตำบลบ้านแปะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ |
ทิศใต้ |
ติดต่อตำบลหางดง ตำบลบ่อหลวง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ |
ทิศตะวันตก |
ติดต่อตำบลบ้านทับ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ |
ภูมิประเทศ
ตำบลกองแขก มีภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาและเป็นที่ราบเชิงเขา มีพื้นที่ราบ ประมาณ 5% ของพื้นที่ ทั้งหมด มีสภาพดินที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก มีทรัพยากรป่าไม้และเป็นแหล่งที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยอาหารป่าทางธรรมชาติมากมายหลายชนิด
ประชากร
1. |
จำนวนครัวเรือนทั้งหมด |
2,172 ครัวเรือน |
2. |
จำนวนประชากรทั้งหมด |
6,557 คน |
|
- เพศชาย |
3,315 คน |
|
- เพศหญิง |
3,242 คน |
สภาพชุมชน ประกอบด้วย 3 ชนเผ่า ได้แก่ ชาวไทยพื้นเมือง ชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยง และชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง
สภาพสังคม เป็นสังคมชนบท ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีบางส่วนนับถือศาสนาคริสต์ในพื้นที่ตำบลกองแขกมีวัดและสำนักสงฆ์ จำนวน 11 แห่ง มีโบสถ์ จำนวน 9 แห่ง
สถานศึกษา
-โรงเรียนประถมศึกษา 5 แห่ง
-โรงเรียนขยายโอกาสมัธยมศึกษา 2 แห่ง
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 9 แห่ง
ด้านการสาธารณสุข
สถานีอนามัยประจำตำบล / หมู่บ้าน จำนวน 2 แห่ง
สภาพเศรษฐกิจ
ประชากรในตำบลกองแขกส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพกสิกรรมหรือเกษตรกรรม รองลงมา คือ อาชีพรับจ้าง ค้าขาย และรับราชการ อาชีพเสริมของประชาชน ได้แก่ การทอผ้า การแกะสลัก และการจักรสาน เป็นต้น